องค์การบริหารส่วนตำบลบึงปรือ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา : www.bungprue.go.th

 
 

 

 

 


โครงการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2567


ภูมิปัญญาเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและความดีงามที่จรรโลงชีวิตและวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติและ สภาวะแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน ทำให้ชาติและชุมชนผ่านพ้นวิกฤติและดำรงความเป็นชาติได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง ต่อไป

                   - ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนในครอบครัวในชุมชน มีกฎเกณฑ์เป็นข้อปฏิบัติและข้อห้าม อย่างชัดเจน มี การแสดงออกทางประเพณี พิธีกรรม และกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่การบายศรีสู่ขวัญ เป็นต้น

                   - ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อน พึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่พัฒนาก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ยังไม่มี ระบบการค้าแบบสมัยใหม่

                   - ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็ม ไปด้วยความเร้นลับ มีพลัง และอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ ความ เร้นลับดังกล่าวรวมถึงญาติพี่น้องและ ผู้คนที่ล่วงลับไปแล้วชาวบ้านยังสัมพันธ์กับพวกเขาทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือในโอกาสสำคัญ ๆ นอกนั้นเป็นผีดีผีร้าย เทพเจ้าต่าง ๆ ตามความเชื่อของแต่ละแห่ง สิ่งเหล่านี สิ่งสถิตอยู่ในสิ่งต่าง ๆ ในโลก ในจักรวาล และอยู่บนสรวงสวรรค์

                   ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอด กันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคม สมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบ ทอด เช่น การรักษาท้องถิ่นบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิดเพราะหมอยาที่เก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอด ให้กับคนอื่นหรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนเมื่อก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหา หมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงินเครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อยแต่ก็ได้ ถูกพัฒนาไปเป็นการค้าไม่สามารถรักษาคุณภาพ และฝีมือแบบดั งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากิน มีการใช้เทคโนโลยี ทันสมัยใช้รถไถแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน

                   การลงแขกทำนาและปลูกสร้างบ้านเรือนก็ เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานกันมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่า แต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็ เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น ประเพณีงานบุญ ก็เหลือไม่มาก ทำได้ก็ต่อเมื่อ ลูกหลานที่จากบ้านไปทำงานกลับมาเยี่ยมบ้านในเทศกาลสำคัญๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา เป็นต้น

                   สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียน มีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุโทรทัศน์ และเครื่อง บันเทิงต่าง ๆ ทำให้ชีวิต ทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงมีศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่าย ปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่น ๆ เข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ และคนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อย ลงไป การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่อง บริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนไป ผลิตผลจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ผู้นำการพัฒนาชุมชนหลาย คนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และ ระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญา ชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูประยุกต์ และค้นคิดสิ่ง ใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม

                   ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบึงปรือ ได้จัดโครงการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ  2567 ไปสู่นักเรียนและชุมชนโดยให้นักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ในการสร้างความตระหนักโดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้และนำองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป





2024-08-13
2024-08-01
2024-07-30
2024-07-24
2024-07-19
2024-06-05
2024-05-14
2024-04-18
2024-04-18
2024-04-01